กลยุทธ์การตลาดของ Apple
แบรนด์ได้รับความภักดีมากพอสมควรรวมทั้งยังครองใจลูกค้าแต่ไม่ใช่เพราะว่าโฆษณาแต่เป็นเพราะว่าบริษัทให้ความสำคัญกับลูกค้า ไม่ว่าจะเริ่มทำอะไร บริษัทจะต้องคำนึงถึงลูกค้าก่อน
หนึ่งในความเคลื่อนไหวเพื่อความประหยัดงบประมาณอีกอย่างหนึ่งคือ แอปเปิลวางแผนเพิ่มความนิยมในสินค้าโดยใช้การตลาดแบบบอกต่อ แคมเปญการตลาดที่ใหญ่ที่สุดแคมเปญหนึ่งไม่ได้มาจากบริษัทเอง ในคลับแห่งหนึ่งในแมนฮัตตัน ทุกคืนวันอังคาร ดีเจ 2 คนที่มีชื่อเหมือนกันว่า แอนดรูจัดปาร์ตี้ iPod ดีเจโดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 200 คน
แอปเปิลใช้จ่ายเพื่อสร้างกระแสการบอกต่อของแบรนด์เป็นจำนวน 293 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยผ่านร้านค้า 73 ร้าน บางร้านเช่น ร้านโซโหมีลูกค้าเข้าร้านกว่า 14 ล้านคนในปี 2003 "เหตุผลสำหรับร้านค้าคือยิ่งมีคนมาจับสินค้าแอปเปิลและทดลองสินค้ามากเท่าใด ส่วนแบ่งตลาดก็ยิ่งเพิ่มขึ้น" นายโคลกล่าว
จุดอ่อน
ถึงแม้ผลงานของนายจ๊อบส์จะโดดเด่นมากเท่าใด เขาก็มีจุดอ่อนซึ่งก็คือแนวทางการบริหารงาน นายโรเจอร์ เคย์รองประธานฝ่ายคำนวณลูกค้าของบริษัทวิจัยไอดีซีกล่าวว่า "สตีฟไม่เคยนึกถึงว่าเขาต้องมีการบริหารที่เป็นมืออาชีพกว่านี้" อีกทั้งเขายังไม่มีผู้ช่วย
ผู้ที่ใช้ Mac
กลุ่มผู้ใช้เครื่องแมคอินทอชจะคำนึงประโยชน์ ในการใช้งานมากกว่าอย่างอื่น ส่วนตัวสามารถให้คำจำกัดความของผู้ใช้แมคอินทอช ว่า "เป็นกลุ่มคนที่มีความรู้พอสมควร" หมายความว่า รู้ว่าเครื่องแมคอินทอชเหมาะกับการใช้งานทางด้านไหน และแอปเปิลก็เข้าใจถึงกระบวนการในการตัดสินใจของลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่ซื้อไปเพื่อประกอบอาชีพ ลูกค้ากลุ่มนี้จะตัดสินใจโดยที่ไม่ต้องคิดมากเลย หรือ ลูกค้าบางรายซื้อไปเพราะดีไซน์ของสินค้าก็มีบ้างเช่นกัน
วิเคราะห์กลยุทธ์การตั้งราคา
การตั้งราคาของ brand apple เนื่องจากเป็นสินค้าไฮเทค apple จึงตั้งราคาสินค้าวที่ระดับสูงเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับตนเอง ทำให้ผู้ซื้อเกิดความคิดว่าสินค้าที่มีราคาสูง น่าจะเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ส่งผลทำให้ผู้อุดหนุนสินค้าแบรนด์นี้ตัดสินใจซื้อสินค้าโดยไม่สนใจราคา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น