ในแวดวงธุรกิจความสำเร็จหรือความล้มเหลวของบริษัทใดบริษัทหนึ่งจะอยู่ที่ฝีมือของ "ซีอีโอ" เป็นสำคัญ จึงเป็นเหตุผลใหญ่ที่ทำให้หลายองค์กรยอมจ่ายเงินแพงๆ เพื่อค้นหาผู้บริหารมือดีมาช่วยให้ธุรกิจของพวกเขาไม่หยุดนิ่ง แต่น่าสนใจว่า ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของบริษัทในโลกเทคโนโลยี "ซีอีโอ" ที่ถือเป็นตำนานของวงการ กลับเป็นกลุ่มคนที่มากด้วยพรสวรรค์ชนิดที่ไม่สามารถค้นหาได้จากตลาดผู้บริหารอันดาษดื่น และมีปูมหลังที่น่าศึกษาและนี่คือเหตุผลที่ "ประชาชาติธุรกิจ" จัดทำรายงานพิเศษเรื่อง "3 คน-3 คม แห่งยุคดิจิทัล" โดยเลือกนำเสนอคมความคิดของสตีฟ จ็อบส์, อีริก ชมิดต์ และ บิล เกตส์ 3 ซีอีโอที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จอันน่าทึ่งของแอปเปิล, กูเกิล และไมโครซอฟท์ทุกครั้งที่แอปเปิลขยับตัว จะดึงความสนใจของสื่อมวลชน นักวิเคราะห์ และคนในแวดวงไฮเทคได้มากมายมหาศาล ครั้งนี้ก็เช่นกัน ก่อนจะถึงวันที่ 7 กันยายนที่ผ่านมา ก็มีทั้งข่าวลือ ข่าวรั่ว และกระแสคาดคะเนอย่างท่วมท้น หลังจากทำให้แฟนพันธุ์แท้แอปเปิลผิดหวังลึกๆ ที่ "สตีฟ จ็อบส์" ขอยกเลิกการปาฐกถาพิเศษใน Apple Expo Paris อย่างกะทันหัน โดยไม่ทราบสาเหตุข่าวลือข่าวปล่อยที่สะพัดว่ายวนอยู่กับประเด็นที่ว่า แอปเปิลกำลังจะเปิดตัวนวัตกรรมใหม่ ที่อาจจะเป็น the next big thing ของวงการไฮเทค โดยเฉพาะในตลาดโมบาย มิวสิก ที่มี "มือถือ" เป็นเดิมพันสำคัญที่สุด "the next big thing" ของแอปเปิล ก็เผยโฉมออกมาในการแถลงข่าวที่ซานฟรานซิสโก โดยครั้งนี้ สตีฟ จ็อบส์ ซีอีโอคนดัง มาพร้อมกับ "Motorola ROKR" และ "iPod nano" สินค้าใหม่ที่เชื่อว่าจะทำให้แอปเปิลยึดครองตลาดเพลงดิจิทัลไว้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ ก่อนที่ค่ายคู่แข่งจะไล่ตีตื้นได้ทันหากย้อนกลับไปช่วงก่อนเปิดตัว "Motorola ROKR" และ "iPod nano" มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันถึงบทวิจัยของไพเพอร์ แจฟเฟรย์ แอนด์ โค ที่เผยผลสำรวจผู้บริโภคที่ทำให้แอปเปิลได้ยินแล้วชื่นใจ นั่นคือ ถึงแม้มือถือรุ่นใหม่จะสามารถเล่นและดาวน์โหลดเพลงได้ แต่ผู้บริโภคในวัยระหว่าง 22-55 ปี ยังให้ความสนใจกับมือถือใหม่ของแอปเปิล ที่จะเปิดตัวในวันที่ 7 กันยายน คิดเป็น 18% ของกลุ่มตัวอย่าง"Motorola ROKR" เป็นภาพสะท้อนความคาดหวังอันเปิดเผยของ สตีฟ จ็อบส์ และผู้บริหารของค่ายแอปเปิลว่า หากคิดจะอยู่ยงและยาวนานในตลาดเพลงดิจิทัล จะต้องประคองกระแส iPod ให้อยู่ได้นาน ควบคู่ไปกับการทำให้ iTunes เป็นปลายทางของการดาวน์โหลดเพลงที่ทุกคนอยากเข้าถึง โดยทำให้ "Motorola ROKR" เป็นทั้งมือถือที่ติดตั้งระบบ iPod และสามารถดาวน์โหลดจาก iTunes ได้ไม่หยุดนิ่ง เป็นลักษณะเฉพาะของแอปเปิล อยู่แล้ว เพียงแต่ทำอย่างไรให้ความไม่หยุดนิ่ง ไม่ใช่เป็นแค่เรื่องของพัฒนาการทางนวัตกรรมเพียงด้านเดียว
คำสารภาพของสตีฟ จ็อบส์ เมื่อถูกถามถึงสาเหตุแห่งความล้มเหลวในอดีต เขาบอกว่า มาจากการทุ่มเทให้กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมมากเกินไป ซึ่งคำกล่าวของจ็อบส์ไม่ได้เกินจริง และแบบอย่างของความล้มเหลวเพราะนวัตกรรม ไม่ได้มีแค่แอปเปิล แต่ยังรวมถึงซีรอกซ์ โพลารอยด์ และอีกหลายค่ายพลังแห่งการสร้างสรรค์ของมันสมองใน แอปเปิล ไม่ช่วยให้ผลประกอบการออกมาสวยงามถูกใจนักวิเคราะห์ ผู้ถือหุ้น และสื่อมวลชน นับจากก่อตั้งในช่วงทศวรรษ 1970 แอปเปิลมีการคิดค้นนวัตกรรมและจดสิทธิบัตร มากกว่า 1,300 สิทธิบัตร ซึ่งมากกว่าไมโครซอฟท์ถึงครึ่งหนึ่ง แต่น่าเสียดายว่า คู่แข่งของแอปเปิลกลับทำเงินได้มากกว่าถึง 140-150 เท่าตัวจุดเปลี่ยนของแอปเปิลมาพร้อมกับ iTunes และ iPod ในช่วงปี 2546 ซึ่งยอดดาวน์โหลดเพลงที่สูงถึงกว่า 20 ล้านเพลง นับถึงสิ้นปี 2546 ซึ่งความแรงดังกล่าว ทำให้นิตยสารไทมส์ยกย่องว่า เป็นสุดยอดสิ่งประดิษฐ์แห่งปี หรือ Coolest Invention of 2003 เนื่องจากมองว่า นวัตกรรมทั้ง
สอง โดยเฉพาะ iTunes เป็นเสมือนการปฏิวัติครั้งหนึ่งในวงการเทคโนโลยี และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางรูปแบบขึ้นในตลาดแต่ความสำเร็จทางนวัตกรรมและดีไซน์ของ iTunes และ iPod เมื่อปิดงบการเงินปี 2546 แอปเปิลรายงานว่า มีรายได้รวม 6.2 พันล้านดอลลาร์ แต่ 3 ใน 4 มาจากยอดขายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจนกระทั่งต่อมาแอปเปิลได้ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับตลาดมากยิ่งขึ้น เสียงตอบรับของผลิตภัณฑ์ทั้งสองเริ่มดีขึ้น ในปี 2548 แอปเปิลขาย iPod ไปแล้วเกือบ 10 ล้านเครื่อง เฉพาะไตรมาส 2 เพียงไตรมาสเดียว ทำยอดขายได้ถึง 5.3 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่า ในช่วงเดียวกันของปี 2547 โดยมีผลกำไรสูงถึง 290 ล้านดอลลาร์ เทียบกับ 46 ล้านดอลลาร์ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และล่าสุดมีรายงานจากอังกฤษว่า iTunes ครองตลาดดาวน์โหลดเพลงออนไลน์ไปเรียบร้อยแล้ว
ดังนั้น หากเดิมพันครั้งใหม่ของสตีฟ จ็อบส์ ถูกต้อง โดยที่ทั้ง iTunes phone และ iPod ของแอปเปิล สามารถครองความโดดเด่นต่อไปได้จริง บทเรียนในประวัติศาสตร์ของจ็อบส์และแอปเปิลก็ยากจะเดินซ้ำรอยตัวเอง ในปีนี้บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล ดาต้า คอร์ป คาดว่าจะมีการผลิตโทรศัพท์มือถือออกขายประมาณ 775 ล้านเครื่อง ดังนั้นหากโทรศัพท์มือถือพันธุ์ใหม่ของแอปเปิลสามารถครองส่วนแบ่งได้สัก 18% ของทั้งหมด ดังที่ผลสำรวจของ ไพเพอร์ เจฟเฟรย์ได้สรุปไว้ว่า แค่นี้ก็เกินพอสำหรับแอปเปิล เพราะเป้าหมายแท้จริงของการจับมือกับโมโตโรล่า เพื่อพัฒนา Motorola ROKR ออกมา ก็เนื่องจากโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ที่ทยอยเปิดตัวออกมา สามารถเป็นคู่แข่งที่คุกคาม iPod ได้ทุกเมื่อ เพราะนอกจากโทรศัพท์มือถือจะมีฟังก์ชันการทำงานมากกว่าแล้ว ยังมีฟังก์ชันในการดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ที่ให้บริการออนไลน์ได้ทั้งนั้นการออก Motorola ROKR คือ ทางเลือกที่ดีที่สุดของแอปเปิล และนวัตกรรมยอดฮิตของบริษัท โดยเฉพาะหากมองจากการโยนไพ่ครั้งล่าสุดของไมโครซอฟท์ ที่เข้าไปจับมือกับออเร้นจ์ของอังกฤษเพื่อพัฒนามือถือใหม่รุ่น SPV C550 ออกมา โดยใช้วินโดวส์ มีเดีย เพลเยอร์เป็นซอฟต์แวร์หลักในการดาวน์โหลดเพลงเพราะถึง สตีฟ จ็อบส์ จะชี้แจงระหว่างการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ทั้งสองว่า iPod nano คือเดิมพันอนาคตที่สำคัญยิ่ง แต่ Motorola ROKR หรือ iTune phone กลับเป็นไพ่ใบสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจโมบายโฟนของแอป เปิลรักษาแชมป์ผู้นำตลาดไว้ในมือได้ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น